แกะรอยแผนการของพระเจ้า

Week9

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : ความเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับดกลไกของธรรมชาติและวิวัฒนาการของโลกสู่สิ่งมีชีวิตพร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจสิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

Week
Input
Process
Output
Outcome

9
11-15
ก.ค.2559

โจทย์ : วิวัฒนาการของสู่สิ่งมีชีวิต
- กลไกโดยธรรมชาติ
คำถาม
- การกลายพันธุ์เกิดขึ้นได้อย่างไร?
- ถ้าไม่มีน้ำเราจะปลูกพืชได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- BAR แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับไกของธรรมชาติและวิวัฒนาการของโลกสู่สิ่งมีชีวิต
วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโดยมีการก่อเกิดสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการของโลกสู่สิ่งมีชีวิต
- DAR ทำกิจกรรมการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
- AAR ความเข้าใจที่ได้จากกิจกรรมการดูคลิปวีดิโอ รูปภาพ บทความ และเรื่องเล่า
ผลจากกิจกรรมการเรียนรู้ Show and share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการ
เรียนรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ข่าวจากสื่อต่างๆ บทความ,ข่าว, Clip ข่าว, รูปภาพ เป็นต้น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู/นักเรียน

จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง : ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาข่าวจากสื่อต่างๆ บทความ,ข่าว, Clip ข่าว, รูปภาพ เป็นต้น (Clip ข่าวผลกระทบนิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมะ, Clip ข่าว กรีนพีซร้องไทยหยุดทดลองพืชGMO, บทความข่าวต้นโพธิ์สีชมพูกลายพันธุ์เองตามธรรมชาติ, ข่าวสาวน้อยมหัศจรรย์อายุ 17 ปีแต่ร่างกายเหมือนเด็ก 1 ขวบ, จีนนิยมความขาวเพราะยีนกลายพันธุ์)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย
ชง :  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “การกลายพันธุ์เกิดขึ้นได้อย่างไร”และ“ถ้าไม่มีน้ำเราจะปลูกพืชได้อย่างไร”
- ครูเปิด Clip VDO “รายการดูให้รู้ ตอน ความลับของความหวาน มะเขือเทศขาดน้ำ
เชื่อม : นักเรียนประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งต่างๆ ผ่านการมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต)
ใช้ : นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
พุธ ชั่วโมง
เชื่อม :  (เป้าหมายความเข้าใจเกี่ยวกับการกำเนิด
ของสิ่งต่างๆ ผ่านการมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต)
นักเรียนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอ
ชง :  ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละ ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสฯ  2 ชั่วโมง
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ความคิดเห็นต่อคำถามให้เพื่อนและครูได้ร่วมเรียนรู้
ศุกร์ 2 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และสรุปแก่นของกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบTimeline
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน :
- ร่วมกันศึกษาข่าวจากสื่อต่างๆ บทความ,ข่าว, Clip ข่าว, รูปภาพ เป็นต้น
- แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายประเด็นข่าว
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์(เป้าหมายความเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับดกลไกของธรรมชาติและวิวัฒนาการของโลกสู่สิ่งมีชีวิต)
-ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอในทุกมิติ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- ข่าวจากสื่อต่างๆบทความ,ข่าว, Clip ข่าว, รูปภาพ เป็นต้น
- สมุดบันทึก
- คำถามและประเด็นการออกแบบการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการก่อเกิดสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการของโลกสู่สิ่งมีชีวิต
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ ;
ความเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับดกลไกของธรรมชาติและวิวัฒนาการของโลกสู่สิ่งมีชีวิตพร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจสิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
-
 ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- นำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายใน
รูปแบบต่างๆได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากทดลองเชิงประสบการณ์ทักษะการอยู่ร่วมกัน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็น
ทักษะICT
- สืบค้นข้อมูลและถ่ายทำ Clip VDO สรุปการเรียนรู้

คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย







ภาพกิจกรรม
แบ่งกลุ่มเขียนเชื่อมโยงสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับเหตุการณ์





ออกแบบกิจกรรมและนำเสนอองค์ความรู้








เขียนความเหมือน ความต่าง ระหว่างปรากฏการณ์ธรรมชาติและภัยธรรมชาติ










ภาพชิ้นงาน
สรุปสัปดาห์ในรูปแบบแผ่นพับ



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้ครูได้ให้พี่ๆม.3 แบ่งกลุ่มและเขียนเชื่อมโยงสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับภาพเหตุการณ์ที่ครูให้ จากนั้นนำเสนอและตั้งคำถาม 3 คำถามจากเหตุการณ์และจับฉลากอีกครั้งเพื่อออกแบบกิจกรรมที่ตอบคำถามที่เพื่อนๆตั้งไว้ หลังจากนั้นพี่แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรม ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ คือกลุ่มสึนามิ,ภูเขาไฟระเบิดและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ซึ่งแต่ละกลุ่มออกแบบกิจกรรมมาในรูปแบบของการอธิบาย วาดภาพประกอบ สื่อประกอบ อาทิเช่น รูปภาพสไลด์และคลิปวีดีโอ เป็นต้น หลังจากการนำเสนอของพี่ๆแต่ละกลุ่ม เพื่อนๆในห้องแต่ละคนมีการตั้งคำถามเพิ่มเติม ทำให้เกิคการร่วมกันเรียนรู้และในขณะพี่บางกลุ่มยังหาคำตอบไม่ได้ก็ได้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมและได้นำมาแลกเปลี่ยนกันในวันถัดไป ทำให้คุณครูได้เห็นบรรยากาศที่พี่ๆมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงค่ะ นอกจากนั้นสัปดาห์นี้ครูชวนพี่ๆคิดต่อโดยครูพาทำกิจกรรมเอง ครูตั้งคำถามว่า คำว่า"ปรากฎการณ์" และ "ภัยธรรมชาติ" คืออะไร? และมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร?
    พี่หลุยส์ : ต่างกันเพราะภัย คืออันตราย ภัยธรรมชาติเป็นอันตรายที่เกิดจากธรรมชาติเป้นคนสร้างครับ
    พี่พิมพ์ : ทั้ง 2 อย่างมีเกิดได้ทั้งธรรมชาติสร้างและมนุษย์ทำค่ะ
    หลังจากนั้นครูได้บอกชื่อเหตุการณ์ อาทิเช่น ฝนตก,พายุหิมะ,รุ้งกินน้ำ ฯลฯ ถ้าพี่ๆคิดว่าเหตุการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์หรือภัยธรรมชาติ โดยหลังจากนั้นคุณครูและพี่ๆได้ร่วมกันขมวดองค์ความรู้ของปรากฏการณ์ธรรมชาติและภัยธรรมชาติอีกครั้ง ก่อนที่คุณครูและพี่ๆจะร่วมจับฉลากทำกิจกรรมต่อ โดยแต่ละคนจะได้โจทย์เป็นสถานที่ท่ต่างกัน ภายใต้ภารกิจที่ว่า "หากเราจะต้องได้อยู่ที่นั่น เราจะใช้องค์ความรู้ที่มีรับมือกับปรากฏการณ์และภัยธรรมชาติที่นั่นได้อย่างไร? และเนื่องจากสัปดาห์หน้าจะเป็นช่วงของวันหยุดยาววันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา คุณครูและพี่ๆได้นำโจทย์นี้ไปคิดต่อและจะนำมาเสนอกันต่อในสัปดาห์หน้าค่ะ

    ตอบลบ