แกะรอยแผนการของพระเจ้า

Week1

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : สามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษา2551 ได้อย่างเหมาะสมและน่าสนใจ

Week
Input
Process
Output
Outcome

1
16 -20
พ.ค. 
2559

โจทย์ : ออกแบบการเรียนรู้
วิเคราะห์หลักสูตร 2551 วิชาบูรณาการ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- วางแผนการเรียนรู้
คำถาม
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ
- นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ
เครื่องมือคิด
- Think pair share เลือกชื่อหน่วย
- Black board share ตั้งชื่อหน่วย
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- Show and Share ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
หนังสือหลักสูตรปี พ.ศ.2551

จันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ และความเข้าใจต่อหน่วยการเรียนรู้ ในระดับชั้น ม.2 ที่ผ่านมา โดยใช้เครื่องมือคิด Card and chart
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมจัดหมวดหมู่วิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้ได้อย่างไรว่า ในระดับชั้น ม.ตนเองจะต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องใดบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น  พร้อมทั้งเขียนสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นพิเศษ
พุธ 2 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูแนะนำหนังสือหลักสูตรการศึกษาปี พ.ศ.2551
นักเรียนแต่ละคนร่วมพูดคุยทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายของหนังสือหลักสูตร
นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม วิเคราะห์หลักสูตรแต่ละวิชา ตามหมวดหมู่ของวิชาบูรณาการ
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอความเข้าใจหลังจากวิเคราะห์หนังสือหลักสูตรการศึกษาปี พ.ศ. 2551
พุธ 2 ชั่วโมง
ผ่านชิ้นงานตามรูปแบบความสนใจ  เช่น  ชาร์ตข้อมูล ภาพ   Mind mapping ฯลฯ 
พฤหัสฯ ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ?”
เชื่อม : นักเรียนเลือกชื่อหน่วยที่อยากเรียนรู้ (เครื่องมือคิด Think pair share)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและออกแบบปฏิทินการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือคิด Brain Storm และ Show and Share
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนร่วมกันประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิทินการเรียนรู้และสรุปลงในกระดาษชาร์ต
ศุกร์  2 ชั่วโมง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์และเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ลงในกระดาษ A4 
นักเรียนแต่ละคน ออกแบบ Mind Mapping ก่อนเรียน
ใช้ : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน :
- ร่วมกันดูคลิป การล่มสลายของวิวัฒนาการ, การกำเนิดโลกและการกำเนิดดวงอาทิตย์
- จับคู่ เพื่อศึกษาชุดข้อมูลคำถาม
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถาม
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์(เป้าหมายความเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับการก่อกำเนิดโลกและวิวัฒนาการของโลก)
-ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และร่วมกันนำเสนอในทุกมิติ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน :
- การตอบคำถามชุดข้อมูล
- คำถามและประเด็นการออกแบบการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการกับการก่อกำเนิดโลกและวิวัฒนาการของโลก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ในรูปแบบของตนเอง อาทิเช่น การ์ตูนช่อง, บทความ, Mind Mapping,Clip VDO, Infographic เป็นต้น

ความรู้ ;
เข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับการก่อกำเนิดโลกและวิวัฒนาการของโลกพร้อมทั้งสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจสิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
-
 ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่นกระดาษ สี
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- นำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่านกิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากทดลองเชิงประสบการณ์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็น
 ทักษะICT
- สืบค้นข้อมูลและถ่ายทำ Clip VDO สรุปการเรียนรู้
คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย


































ภาพกิจกรรมการเรียนรู้









ประมวลภาพการนำเสนองานPBL คู่ขนาน : สร้างแหล่งโปรตีน









ภาพชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    สัปดาห์นี้คุณครูและพี่ม.3 ร่วมกันพูดคุยสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้วในชั้นม.2 จากนั้นคุณครูอ่านบทความเรื่องความต่างของคนGenX และ GenY โดยครูได้ชวนพี่ๆคิดต่อว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้คนยุคนี้ต่างจากคนยุคก่อนอย่างสิ้นเชิง พี่ๆหลายคนให้บอกว่าอาหารและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป ดังนี้
    พี่ไข่มุก : เด็กยุคนี้ตัวโตกว่ายุคก่อน
    พี่เบ้น : หนูตัวสูงกว่าแม่ของหนู
    พี่ชาติ : อาหารมีสารเร่งโตเร่งสวย มีผลกับร่างกาย เช่น ในไก่มีสารเร่งกินเข้าไปทำให้ตัวโตเร็วกว่าปกติ
    คุณครูจึงมีโจทย์ต่อให้พี่ๆ คือ "เรามีวิธีการเลือกอาหารที่ปลอดภัยกับเราได้อย่างไร" "ตามท้องตลาดสดสะอาดจริงหรือ"และ"เราจะสร้างแหล่งโปรตีนที่สะอาดและปลอดภัยได้อย่างไร" จากนั้นจึงให้พี่ๆ แบ่งกลุ่มสืบค้นแหล่งโปรตีนจากที่ต่างๆ เช่น โปรตีนจากพืช/สัตว์ เป็นต้น หลังจากการสืบค้นข้อมูลแต่ละกลุ่มนำเสนอโครงการที่สนใจพร้อมทั้งวางแผนการดำเนินงานในแต่ละสัปดาห์ โดยได้กลุ่ม 6 กลุ่ม ดังนี้ ถั่วเขียว,ถั่วงอก,ถั่วดิน,ยอดอ่อนต้นทานตะวัน,ไกไข่,ปลาดุก จากนั้นครูได้ชวนพี่พูดคุยในส่วนของวิชาทักษะอนาคตต่อ ครูใช้เครื่องมือ Placemat โดยการตั้งคำถามเพื่อทบทวน "ทักษะอนาคตคืออะไร มีอะไรบ้าง" จากนั้นจึงร่วมกันจับประเด็นหลักของห้อง ทักษะที่จำเป็นมีดังนี้ 1.ด้านICT(การใช้,การสร้าง,การเชื่ออย่างมีวิจารณญาณ) 2.ภาวะความเป็นผู้นำ(Leader) และให้โจทย์แต่ละกลุ่มต่อว่า "พี่ๆ จะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองอย่างไรให้สอดคล้องกับทักษะทั้งหมดเหล่านี้" โดยจะมานำเสนอ timeline การดำเนินกิจกรรมในสัปดาห์หน้าค่ะ

    ตอบลบ